แนวคิด

                       พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เป็นพระประธานอยู่ในพระวิหาร วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยาเดิมชื่อ พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา เนื่องจากสร้างขึ้นบริเวณริมหนองเอี้ยง ซึ่งภายหลังเรียกว่า กว๊านพะเยา เป็น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2034 พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในดินแดนล้านนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวพะเยาและชาวภาคเหนือ
                       ผลงานวิทยานิพนธ์ หัวข้อเรื่อง "บรรยากาศความศรัทธา พระเจ้าตนหลวง" ได้รับความบันดาลใจมาจากองค์พระเจ้าตนหลวง พระประธานในวิหารวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวภาคเหนือ อีกทั้งความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวพะเยา ที่มีต่อองค์พระเจ้าตนหลวง ซึ่งก่อให้เกิดเป็นวิถีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม สะท้อนภาพแห่งศรัทธาสาธุชนที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน
                       การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ชุดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดวิถีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อและความศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนชาวพะเยา และอนุรักษ์เผยแพร่วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของชาวพะเยา มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากสถานที่จริง เก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านสถาปัตยกรรมภายในพระวิหาร พุทธลักษณะ ขององค์พระเจ้าตนหลวง บรรยากาศภายในพระวิหารและบริเวณโดยรอบ สำรวจการแต่งกายของผู้คนในปัจจุบันที่เข้ามากราบสักการะ ในวัดศรีโคมคำรวมทั้งวัดในชุมชน นำวิเคราะห์องค์ประกอบ รูปแบบวิธีการ พัฒนาเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานแสดงบรรยากาศของความศรัทธาภายในพระวิหารพระเจ้าตนหลวง เพื่อต้องการแสดงออกถึงความประทับใจ ในคุณค่าของศาสนาสะท้อนความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวพะเยาและสังคมไทย สื่อความหมายเชื่อมโยงถึงวิถีการปฏิบัติบูชาของพุทธศาสนิกชน รวมทั้งสะท้อนคุณค่าทางสุนทรียภาพที่เปี่ยมด้วยความสงบสุข วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ที่มีรูปแบบจิตรกรรมไทยแบบประเพณี เพิ่มเติมและพัฒนาในรูปแบบจิตรกรรมไทยร่วมสมัย (Thai Contempolary Painting) ด้วยเทคนิคสีอะคริลิค จำนวน 2 ภาพ ขนาด 145 X 180 เซนติเมตร

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : ไหว้สา พระเจ้าตนหลวง 1

เทคนิค : สีอะคริลิค บนผ้าใบ
ขนาด : 145X180 ซม.

ชื่อภาพ : ไหว้สา พระเจ้าตนหลวง 2

เทคนิค : สีอะคริลิค บนผ้าใบ
ขนาด : 145X180 ซม.